Drone Association Thailand

กฏหมายและข้อกำหนดต่างๆ

1. ตรวจสอบให้มั่นใจว่าโดรนอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและปลอดภัย นอกจากตรวจสอบตัวโดรนแล้วต้องตรวจสอบระบบควบคุมด้วย 

2. ก่อนทำการบินทุกครั้งต้องขออนุญาตเจ้าของพื้นที่หรือผู้มีอำนาจในพื้นที่นั้นๆก่อน 

3. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่และระดับความสูงที่จะทำการบินอย่างละเอียด เพื่อให้แน่ใจว่าการบินโดรนนั้นเป็นไปอย่างปลอดภัย 

4. วางแผนสำหรับกรณีฉุกเฉินหากเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงแผนการรักษาพยาบาลและแผนรองรับในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมโดรนได้ 

5. ทำการบำรุงรักษาโดรนอย่างสม่ำเสมอตามคู่มือของผู้ผลิต เพื่อให้แน่ใจว่าโดรนนั้นพร้อมใช้งานและปลอดภัยเสมอ 

6. ผู้บังคับโดรนต้องมีความรู้ความชำนาญในการบังคับโดรนรวมถึงระบบต่างๆ 

7. ผู้บังคับโดรนต้อมีความรู้ความเข้าใจในกฎจราจรทางอากาศ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ 

8. ให้นำหนังสือการขึ้นทะเบียนผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานติดตัวไว้ตลอดขณะที่ทำการบิน 

9. ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงที่สามารถใช้งานได้ติดตัวตลอดเวลาที่ทำการบิน 

10. ต้องมีประกันภัยอากาศยานเพื่อรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอก โดยวงเงินประกันภัยต้องไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่ออุบัติเหตุต่อครั้ง และกรมธรรม์ประกันภัยต้องอยู่ติดกับหนังสือการขึ้นทะเบียนผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยาน และต้องต่ออายุกรมธรรม์ล่วงหน้าก่อนวันสิ้นอายุไม่น้อยกว่า 30 วัน

1. ห้ามดำเนินการบินอากาศยานในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน หรือส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของผู้อื่น

2. ห้ามบินในเขตหวงห้าม ห้ามดำเนินการบินอากาศยานในบริเวณเขตหวงห้าม เขตกำกัด และเขตอันตรายตามที่ประกาศในเอกสารแถลงข่าวการบินของประเทศไทย รวมถึงสถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ และโรงพยาบาล เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่

3. แนวการบินขึ้นลงของอากาศยานจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อการบิน

4. ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องสามารถมองเห็นอากาศยานได้ด้วยตาเปล่าตลอดเวลาที่ทำการบิน และห้ามทำการบังคับอากาศยานโดยอาศัยชุดกล้องบนอากาศยานหรืออุปกรณ์อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียง

5. ต้องทำการบินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ซึ่งสามารถมองเห็นอากาศยานได้อย่างชัดเจน

6. ห้ามทำการบินเข้าใกล้หรือเข้าไปในเมฆ เพื่อป้องกันการสูญเสียการมองเห็นและการควบคุมอากาศยาน

7. ห้ามทำการบินภายในระยะ 9 กิโลเมตร จากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราว

8. ห้ามทำการบินโดยใช้ความสูงเกิน 90 เมตร (300 ฟุต) เหนือพื้นดิน

9. ห้ามทำการบินเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน

10.ห้ามบังคับอากาศยานเข้าใกล้อากาศยานซึ่งมีนักบิน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางอากาศ

11. ห้ามทำการบินละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น เช่น การถ่ายภาพหรือวิดีโอโดยไม่ได้รับอนุญาต

12. ห้ามทำการบินโดยก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความรำคาญ หรือความเสียหายแก่ผู้อื่น

13. ห้ามส่งหรือพาวัตถุอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวงหรืออุปกรณ์ปล่อยแสงเลเซอร์ติดไปกับอากาศยาน

14. ห้ามทำการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง หรืออาคารที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการบินน้อยกว่า 30 เมตร (100 ฟุต) ในกรณีอากาศยานที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม และ 50 เมตร (150 ฟุต) ในกรณีอากาศยานที่มีน้ำหนักเกินกว่า 2 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม

15.เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นแก่อากาศยาน ให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานแจ้งอุบัติเหตุนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่ชักช้า

การขอขึ้นทะเบียนสำหรับโดรนที่มีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัม จำเป็นต้องดำเนินการกับสองหน่วยงานหลัก ได้แก่: 

1.สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท./CAAT) ผู้ครอบครองโดรนต้องขึ้นทะเบียนเป็น “ผู้บังคับอากาศยานโดรน” เพื่อขอใบอนุญาต ให้บินโดรนตามกฎหมาย ซึ่งถือเป็นการขอ “ใบขับขี่โดรน” เพื่อรับรองความสามารถ ในการบินอย่างปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมาย 

2.สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) การขึ้นทะเบียนกับ กสทช. เป็นการขึ้นทะเบียน “ขออนุญาตใช้คลื่นความถี่” ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากโดรนต้องใช้ คลื่นความถี่ในการควบคุมและสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ควบคุมภาคพื้นดินและตัวโดรน 

    แม้ว่าผู้ครอบครองโดรนจะได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่จาก กสทช. แล้ว ก็ยังไม่สามารถทำการบินได้จนกว่าจะได้รับหนังสือ การขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานโดรนจาก กพท. ซึ่งถือเป็นการรับรองว่าผู้บังคับอากาศยานมีความรู้ความสามารถในการบังคับ โดรนได้อย่างปลอดภัยและเป็นไปตามกฎหมาย

1. ติดตั้งกล้องบันทึกภาพต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี

2. น้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี ทั้งนี้ไม่ติดตั้งกล้องบันทึกภาพและน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัมไม่ต้องขึ้นทะเบียน

3. โดรนที่มีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัมขึ้นไป (ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

หนังสือการขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานโดรนมีอายุกี่ปี

    หนังสือการขึ้นทะเบียนโดรนมีอายุ 2 ปี ตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ

บทลงโทษถ้าไม่ได้ขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานโดรน

    บทลงโทษ ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 มาตรา 24 ประมวล มาตรา 78 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี

    หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สอบถามการทำใบอนุญาติบินโดรนติดต่อมาที่

Scroll to Top